โรงเรียนบางสะพาน ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายของสถานศึกษาที่มุ่งหวัง พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุขเป็นผู้ที่มีความสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหา เป็นก้าวไกลสู่สากล ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมให้ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์ สุจริต ผ่าน กระบวนการคิดแบบหมวก ๖ ใบ (Six Thinking Hats) ตามทฤษฎีของ Edward de Bono ๑.หลักการและเหตุ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถาน ศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง...ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา....จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อ เนื่อง การคิด.. เป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบหมวก ๖ ใบ จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนในการคิดอย่างสร้างสรรค์และสามารถแก้ไข ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น การคิดเป็น...ทำให้คนฉลาด คนฉลาด หากมีความสุจริต ไม่คดโกงก็ย่อมนำความเจริญ ความสงบสุขมาสู่สังคมนั้นๆ โรงเรียนบางสะพานจึงเห็นว่า การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถทางด้าน การคิด มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จึงได้จัดกิจกรรมค่ายโรงเรียนสุจริต ด้วยกระบวนการคิด หมวก ๖ ใบในครั้งนี้ขึ้น มีกำหนดระยะเวลา ๒ วัน ๑ คืน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๗ ถึงวันที่ ๘ เดือน มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนบางสะพาน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๒. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก ให้นักเรียนยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริต ๒. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถนำกระบวนการคิดไปใช้ ในชีวิตประจำวันได้ ๓. เพื่อฝึกทักษะทางสังคม ได้แก่ การอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกัน การยอมรับฟัง ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ๓. เป้าหมาย เชิงปริมาณ ๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบางสะพาน ทุกคนเข้าร่วมโครงการค่าย โรงเรียนสุจริต ด้วยกระบวนการคิด หมวก ๖ ใบ ๒. ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โรงเรียนบางสะพานเข้าร่วมโครงการค่ายโรงเรียน สุจริตด้วยกระบวนการคิด หมวก ๖ ใบ เชิงคุณภาพ ๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โรงเรียนบางสะพาน สามารถนำกระบวนการคิด หมวก ๖ ใบ มาใช้ในการคิดวิเคราะห์สถานการณ์ที่กำหนดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบางสะพาน มีความรู้ ความเข้าใจการใช้ เทคนิคการสอนด้วยกระบวนการคิดหมวก ๖ ใบ (Six Thinking Hats)ตามทฤษฎีของ Edward de Bono
กิจกรรมดำเนินการ นักเรียนรายงานตัว รับบัตรประจำตัวและเอกสารการอบรม
กล่าวรายงาน / เปิดค่ายโรงเรียนสุจริต ด้วยกระบวนการคิด หมวก ๖ ใบ
รู้จักกับวิทยากร/ครูพี่เลี้ยง กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ / แบ่งกลุ่มตามหมวกสี ๖ ใบ ๖ กลุ่ม เรียนรู้ความหมายของหมวก ๖ ใบ (Six Thinking Hats) ตามทฤษฎีของ Edward de Bono กิจกรรมกระจกเงา : - นักเรียนสารภาพกับกระจำเงาถึงพฤติกรรมที่ตนเองเคยทำเรื่องทุจริต คนละ ๑ เรื่อง - แล้วเขียนลงในกระดาษหมวก ๖ ใบ - นำเสนอแล้วไปติดบนป้ายนิเทศ - ครูพี่เลี้ยงรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วน กิจกรรม “โรงเรียนสุจริต กับหมวก ๖ ใบ” นำข้อมูลจากกิจกรรมกระจกเงา ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปราย ถึงการทุจริต ๓ ด้าน คือ ทุจริตต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ ผ่านกระบวนการคิดหมวก ๖ ใบ ทำ Mind Mapping นำเสนอผลงาน แล้วติดแสดงผลงานที่ป้ายนิเทศ
กิจกรรม “ดูละคร..ย้อนคิด” (แสดงโดยวิทยากรและพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม) - สังเกตพฤติกรรมการทุจริตของตัวละคร - ตัวแทนกลุ่ม จับฉลาก ชื่อตัวละคร - วิเคราะห์พฤติกรรมการทุจริตของตัวละคร โดยใช้กระบวนการคิดแบบหมวก ๖ ใบ - สรุปผลงาน ทำ Mind Mapping - นำเสนอผลงานของกลุ่ม - ติดแสดงผลงานที่ป้ายนิเทศ กิจกรรม “ ร่วมคิด ร่วมทำ ปฏิญญาโรงเรียน” - นักเรียนระดมสมอง สำรวจปัญหาการทุจริตที่มีในโรงเรียน - เลือกประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วน กลุ่มละ ๑ เรื่อง - ใช้กระบวนการคิด แบบ หมวก ๖ ใบ วิเคราะห์ปัญหา ค้นหาแนวทางแก้ไข แล้วสรุปเป็นปฏิญญาโรงเรียน ๓ ขั้นตอน คือ
- จัดทำปฏิญญาโรงเรียน ลงบนแผ่นป้ายไวนิล ขนาด ๕๕ Í ๑๕๐ ซม. - นำเสนอผลงาน - จัดนิทรรศการ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกิจกรรมค่ายโรงเรียนสุจริต ด้วยกระบวนการคิด หมวก ๖ ใบ ครั้งนี้ผู้เข้าร่วม โครงการมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ได้รับข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินการครั้งต่อไปดังนี้ ๑. ควรขยายเวลาในการจัดกิจกรรม จาก ๒ วัน ๑ คืน เป็น ๓ วัน ๒ คืน ๒. ให้นักเรียนได้แสดงละครเกี่ยวกับการทุจริตบ้าง ๓. ควรให้นักเรียนระดับชั้น ป. ๔ – ป. ๕ ได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายในปีต่อๆ ไป
|